ประเภทของตาบอดสี
โรคตาบอดสี พบได้ประมาณ 8% ของประชากร แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
กลุ่มที่เป็นตั้งแต่ กำเนิด (congenital color vision defects) กลุ่มที่มีความผิดปกติมาตั้งแต่ กำเนิดตาทั้ง 2 ข้างจะมีอาการมองเห็นสีผิดปกติเหมือนกันคงที่ไม่เปลี่ยนแปลง ผู้ที่สามารถเห็นสีได้ ปกติจะต้องมีเซลล์รับแสงสีที่จอประสาทตาครบทั้ง 3 สี คือ แดง เขียว และน้ำเงิน และมีปริมาณ เม็ดสีในเซลล์ที่ปกติ รวมทั้งระบบประสาทตาและการแปลผลที่เป็นปกติด้วย ส่วนความผิดปกติของ เม็ดสี และเซลล์รับแสงสีน้ำเงินนั้น ถูกควบคุมด้วยยีนบนโครโมโซม 7 จึงมีการถ่ายทอดแบบ autosomal dominant ซึ่งจะพบผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้น้อย
กลุ่มที่เป็นภายหลัง (acquired color vision defects) มักเกิดจากโรคทางจอประสาทตาหรือ โรคของเส้นประสาทตาอักเสบ มักจะเสียสีแดงมากกว่าสีอื่น และอาจเสียเพียงเล็กน้อย คือดูสีที่ควร จะเป็นนั้นดูมืดกว่าปกติ หรืออาจจะแยกสีนั้นไม่ได้เลยก็ได้
ซึ่งมักพบ กลุ่มแรก คือกลุ่มที่เป็นตั้งแต่กำเนิดบ่อยกว่ากลุ่มที่เป็นภายหลังเมื่อพิจารณาในกลุ่ม ที่ เป็นตั้งแต่เกิด กลุ่มย่อยที่พบได้บ่อยที่สุด คือ กลุ่มที่บอดสีเขียว-แดง ซึ่งพบได้ประมาณ 5-8% ใน ผู้ชาย และพบเพียง 0.5% ในผู้หญิง (ผู้ชายพบได้บ่อยกว่าเยอะนะครับ) ส่วนในกลุ่มที่เป็นภายหลัง มักพบเป็นการบอด สีน้ำเงิน - เหลือง และพบได้พอๆกันทั้งชายและหญิง ซึ่งจำนวนคนที่เป็น ในกลุ่มนี้น้อยกว่ากลุ่มที่เป็นแต่กำเนิดมาก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น